SDG 1 – NO POVERTY ขจัดความยากจน
As one of the largest and fastest growing economic sectors in the world, tourism is well-positioned to foster economic growth and development at all levels and provide income through job creation. Sustainable tourism development, and its impact at community level, can be linked with national poverty reduction goals, those related to promoting entrepreneurship and small businesses, and empowering less favored groups, particularly youth and women.
ในทริปฉะเชิงเทราเมืองอาหารสำคัญของโลกเมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เราใช้คอนเซ็ปท์การท่องเที่ยวที่ทุกคนในครอบครัวได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้ระบบนิเวศและวิถีชุมชนผ่านการท่องเที่ยวใน 7 ชุมชน 4 อำเภอ ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองตีนนก, ชุมชนบ้านนาขาวัง, ชุมชนบ้านเขาดิน, ชุมชนบ้านดอนศรีนนท์, ชุมชนบ้านบางเล่า, ชุมชนบ้านบางตลาด, ชุมชนบ้านบางกระเจ็ด กระจายอยู่ในอำเภอบางปะกง, อำเภอบ้านโพธิ์, อำเภอคลองเขื่อน, และอำเภอบางคล้า โดยนำภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติมาทดแทนภาชนะพลาสติก เช่น กระบอกน้ำและหลอดที่ทำมาจากไม้ไผ่ในพื้นที่ รวมถึงเมนูอาหารที่หาทานได้ที่จังหวัดฉะเชิงเทราที่เดียวในประเทศไทยเท่านั้น เช่น แกงคั่วดอกจาก, ปูสามน้ำอบสมุนไพร และปลาหมอเทศแดดเดียว เป็นต้น
SDG 2 – ZERO HUNGER ขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร
Tourism can spur sustainable agriculture by promoting the production and supplies to hotels, and sales of local products to tourists. Agro-tourism can generate additional income while enhancing the value of the tourism experience.
การพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ถูกนำมาใช้ผลักดันและส่งเสริมโดยองค์กรขับเคลื่อนภาคประชาชน นำโดยกลุ่ม Zero Hunger ฉะเชิงเทราเมืองอาหาร และกลุ่มอนุรักษ์ในพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบันมีการรุกคืบจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก หลายภาคส่วนจึงช่วยกันสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ชุมชนสามารถสร้างและดูแลแหล่งอาหารได้เอง โดยลุ่มน้ำบางปะกงนั้นถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่มีความสำคัญมากของประเทศ โดยเรานำการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสความจริงในพื้นที่ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนเพื่อสนับสนุนให้เป็นรายได้เสริมอย่างทั่วถึงมากที่สุด
SDG 10 – REDUCED INEQUALITIES ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายใน และระหว่างประเทศ
Tourism can be a powerful tool for reducing inequalities if it engages local populations and all key stakeholders in its development. Tourism can contribute to urban renewal
and rural development by giving people the opportunity to prosper in their place of origin. Tourism serves as an effective mean for economic integration and diversification.
จากการรุกคืบทางอุตสาหกรรม ส่งผลให้มวลประชากรถูกบีบอัดในเชิงคุณภาพการใช้ชีวิต ความเหลื่อมล้ำทางสังคมทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้การท่องเที่ยวจะไม่สามารถเป็นปัจจัยหลักทำให้ความเหลื่อมล้ำที่มีนั้นลดลง แต่ช่วยบรรเทาได้ในบางพื้นที่ๆเปิดรับการท่องเที่ยวแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งในทริปฉะเชิงเทราเมืองอาหารสำคัญของโลกนั้น ทำให้เราได้เห็นภาพนักท่องเที่ยวจากเมืองกรุง นั่งรถแต๊กๆไปร่วมกิจกรรมดำนากับชาวนาบ้านบางเล่า ตามแบบวิถีของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นกิจกรรมและภาพที่หาดูได้ยากยิ่ง